วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คู่มือการใช้ชุดเครื่องพื้นบ้านของสิริยาภรณ์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1
ข่าวไทยรัฐ
กิจกรรมการใช้ชุดเครื่องเ่ล่นพื้นบ้านสิริยาภรณ์

คู่มือการใช้ชุดเครื่องเล่นพื้นบ้านของสิริยาภรณ์
หลักการและเหตุผล
                   
                    การส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพทางร่างกายของมนุษย์ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามวัยตั้งแต่ปฐมวัย   การพัฒนาการที่สมบูรณ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ ทำให้เด็กมีความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันของตนได้ตามวัย  ดังคำกล่าวของนิตยา  ประพฤติกิจ ว่า  พัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยเตาะแตะ ซึ่งจะมีการพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่  ( Large Muscles ) ได้บ้างแล้ว จึงสามารถ วิ่ง  กระโดด ขว้าง และปีนป่ายได้     แต่ในลักษณะที่ยังไม่พร้อมและไม่คล่อง  ( นิตยา  ประพฤติกิจ.2539 : 2 )  จากรายงานการศึกษาเรื่องการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กเล็ก ของแคพแพลน ( Caplan ) พบว่า ถ้าไม่ได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อในวัยเด็กตอนต้นแล้ว อาจส่งผลให้สมองไม่ให้ได้รับการกระตุ้นทำงานอย่างเต็มที่        การวิจัยเรื่องแรกมุ่งศึกษา เรื่องการสอนให้เด็กรู้จักเรื่อง ซ้าย และ ขวา  และเรื่องทิศทาง คือ บน  ล่าง หน้า  หลัง และอื่น ๆ  ส่วนอีกเรื่อง ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่               ผลการศึกษาทั้งสองเรื่อง สนับสนุนการศึกษา  คือ  เด็กที่ได้ทำกิจกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง  จะพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ  อย่างรวดเร็ว และยังได้พัฒนาด้านการเรียนรู้อย่างรวดเร็วด้วย ( นิตยา ประพฤติกิจ.  2539 : 91 ) การส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จึงมีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างยิ่ง   ทิศนา  แขมมณีและคณะ ได้กล่าวว่า  เด็กจำเป็นต้องได้โอกาสที่จะใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ตลอดจนประสาทสัมผัสต่าง  ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้อวัยวะต่างๆ เติบโตขึ้นได้ด้วยดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลสมองซึ่งควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสตามวัย  ( ทิศนา  แขมมณี. 2537  : 72 )
   หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านร่องสะอาด พุทธศักราช 2546(ฉบับปรับปรุง 2553)  กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรดังนี้  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย   ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา  เมื่อเด็กจบการศึกษาระดับปฐมวัย เด็กจะบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมาย 12 ข้อ และในแต่ละช่วงอายุผู้สอนจะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัย    ของเด็กด้วย   คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  ครอบคลุมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ   สังคม  และสติปัญญา  ดังนี้
1.  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย  และมีสุขนิสัยที่ดี
2.  กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง  ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3.  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
4.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
5.  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  การเคลื่อนไหว  และรักการออกกำลังกาย
6.  ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7.  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  และความเป็นไทย
8.  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
      ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9.  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะตามวัยของเด็กวัย  5 ขวบ  ไว้ดังนี้
1.วิ่งอย่างรวดเร็วและหยุดได้โดยไม่เสียการทรงตัว
2. กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องได้ประมาณ 3 เมตร
3. เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
4. วิ่งแบบก้าวกระโดดหรือวิ่งแบบควบม้า สไลด์ไปข้างซ้าย - ขวาได้
5. เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรงโดยไม่ต้องกางแขน
6. กระโดด 2 เท้าข้ามสิ่งกีดขวางสูงประมาณ 30 เซนติเมตรได้
7. เดินถือถ้วยใส่น้ำค่อนถ้วยโดยไม่หก ระยะทางประมาณ 4 เมตร
8. สามารถวิ่งติดต่อกันในระยะทาง 40-50 เมตรได้
                    ( โรงเรียนบ้านร่องสะอาด . 2553 : 5-10 )
                    การส่งเสริมความสามารถในทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะการส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไปนั้นมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ได้อาทิ  การเล่มเกมกลางแจ้ง  การเล่นกลางแจ้ง  การเล่นอิสระ ปีนป่าย เล่นเครื่องเล่นสนาม ตลอดจนการ ยืน เดิน การนั่งในห้องเรียน     ทั้งนี้โดยการฝึกปฏิบัติซ้ำๆ ด้วยความสนุกสนานผ่านการเล่นร่วมกับเพื่อนหรือเล่นตามลำพัง ล้วนเป็นการฝึกความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้           เป็นอย่างดี   ดังที่ ศรียา นิยมธรรม ได้กล่าวว่า การเรียนรู้หลายๆ อย่างในหลักสูตร  พัฒนาการ ต้องการประสบการณ์การเล่นหลายอย่าง เด็กไม่พิการมักจะใช้การเล่นเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เด็กๆเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง และร่วมกิจกรรมกลุ่มได้รวดเร็ว เด็กๆกระตือรือร้นและสนใจที่จะให้ครูแนะนำกิจกรรมการเล่น( ศรียา นิยมธรรม. 2541 : 112 )
                    โรงเรียนบ้านร่องสะอาดมีหมู่บ้านในเขตบริการ 3 หมู่บ้านคือ บ้านร่องสะอาด หมู่ที่  7 และบ้านร่องสะอาดหมู่ที่  14  ซึ่งเป็นสังคมในชนบท เด็กๆ ก่อนวัยเรียน ได้มีรับการพัฒนาด้านร่างกายที่เกี่ยวข้องกับพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยธรรมชาติ ที่ยังพอมีอยู่ได้แก่ การเล่นเกมพื้นบ้าน  ได้แก่การเล่นแม่หัวกะโหลก  ที่มีท่าการเล่นของผู้เล่นที่ใช้การกระโดดขาเดียวเป็นหลัก ทำให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ช่วง ทำให้แข็งแรง   การเล่นเสือข้ามห้วย  โดยการเล่นรวมกันของเด็ก เน้นการกระโดดและการกะระยะ การกระโดด  การทรงตัว   ส่วนที่ไม่ค่อยได้เล่น จากคำบอกเล่าของนายชื่น  บางใบ  ผู้ใหญ่บ้าน  ได้แก่ การเดินกะลา  โดยการนำกะลามาร้อยเชือกแล้วเดินเล่นหรือมีการแข่งขันกัน  เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ช่วงขาให้แข็งแรง   การเล่นหมากว้อ (ภาษาถิ่น)   โดยเด็กจะเล่นกันใต้ถุนบ้าน ที่มีคอกวัวคอกควาย  เด็กๆจะเล่นขึ้นไปไต่และไล่จับกันบนราวไม้ที่ใช้กันคอกวัวคอกควาย   ทำให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ทั้งตัว กล่าวคือการห้อยโหน  การไต่  การกระโดดจากราวหนึ่งไปอีกราวหนึ่ง    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่มีความสำคัญต่อการเด็กมาตั้งแต่อดีตและมีการพัฒนาผ่านการเล่นของเด็กที่ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณ   
                    จากการศึกษาปัจจุบันความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กมีความสำคัญต่อการเรียนรู้  ทำให้เด็กสามารถทรงตัวได้มั่นคงขึ้น สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตประจำวันได้ รวมถึงความสามารถในการยืน การวิ่ง การหยุดได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย จึงสมควรดำเนินการช่วยเหลือให้เด็กที่มีปัญหากล้ามเนื้อใหญ่ไม่แข็งแรง ให้สามารถใช้กล้ามเนื้อขาและควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีขึ้น  การใช้สื่อพื้นบ้านที่เป็นวัสดุในท้องถิ่นหาง่ายและเด็กคุ้นเคยในการเล่น  มาพัฒนารูปแบบให้วิธีการใช้ให้สอดคล้องกับหลักทฤษฎี และมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดไว้จึงเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ามีความสนใจศึกษาอย่างยิ่ง
                    ทั้งนี้เพราะความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กมีความสำคัญต่อการเรียนรู้    ทำให้เด็กสามารถทรงตัวได้มั่นคงขึ้น สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตประจำวันได้ รวมถึงความสามารถในการยืน การวิ่ง การหยุดได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย จึงสมควรดำเนินการช่วยเหลือให้เด็กที่มีปัญหากล้ามเนื้อใหญ่ไม่แข็งแรง ให้สามารถใช้กล้ามเนื้อขาและควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีขึ้นจากผลการวิเคราะห์ผู้เรียน  ปีการศึกษา 2550   พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2   ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย  เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว  ระดับ 1 ร้อยละ 16   เดินต่อเท้าถอยหลังตามแนว   ระดับ  1   ร้อยละ  28   ยืนขาเดียวได้อย่างมั่นคงโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ  1  ร้อยละ  40   กระโดด         ขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว  ระดับ  1  ร้อยละ  28    วิ่งอย่างรวดเร็วและหยุดโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ 1  ร้อยละ  42    จึงได้ แก้ไข เด็กที่พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เหล่านี้ด้วยท่ากายเล่น ที่ครูคิดขึ้น ประกอบคำคล้องจอง   จำนวน 10 ท่า    บนพื้นเรียบในห้องเรียน  เมื่อสิ้นสุดการศึกษา พบว่า เด็กมีพัฒนาการที่สูงขึ้นเป็นบางคน 
 ( สิริยาภรณ์  ลาภสาร. 2550  : 15 )   ในปีการศึกษา 2551  ได้ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน    ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย  มาตรฐานที่ 2  พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน  13  คน  เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว  ระดับ 1 จำนวน  3  คน  คิดเป็นร้อยละ 23            เดินต่อเท้าถอยหลังตามแนว   ระดับ  1 จำนวน  5 คน คิดเป็นร้อยละ  38   ยืนขาเดียวได้อย่างมั่นคงโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ  1  จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ  38  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้
อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว  ระดับ  1  จำนวน 4  คน คิดเป็นร้อยละ  30    วิ่งอย่างรวดเร็วและหยุดโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ 1  จำนวน 6 คน  คิดเป็นร้อยละ  46   ซึ่งสาเหตุที่เด็กมีระดับความสามารถในการทรงตัวตามตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานดังกล่าว อาจเป็นเพราะ เด็กมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่วตามวัย  จึงได้หาวิธีการพัฒนาเด็กที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่ว  ด้วยท่ากายเล่นที่คิดขึ้น  10 ท่าเมื่อปีการศึกษา 2550   ร่วมกับ การนำกะลามะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น  มาสร้างเป็นอุปกรณ์ประกอบการฝึกทรงตัว โดยให้ชื่อว่า   กะลาทรงตัว  เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า  เด็กร้อยละ   80 มีพัฒนาการด้านร่างกาย การใช้กล้ามเนื้อใหญ่สูงขึ้น  ( สิริยาภรณ์  ลาภสาร. 2551  : 14 )   ในปีการศึกษา 2552  ได้ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน    ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย  มาตรฐานที่ 2  พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน  13  คน  เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว  ระดับ 1 จำนวน  3  คน  คิดเป็นร้อยละ 23     เดินต่อเท้าถอยหลังตามแนว   ระดับ  1 จำนวน  5 คน คิดเป็นร้อยละ  38   ยืนขาเดียวได้อย่างมั่นคงโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ  1  จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ  38  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว  ระดับ  1  จำนวน 4  คน คิดเป็นร้อยละ  30    วิ่งอย่างรวดเร็วและหยุดโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ 1  จำนวน 6 คน  คิดเป็นร้อยละ  46   ซึ่งสาเหตุที่เด็กมีระดับความสามารถในการทรงตัวตามตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานดังกล่าว อาจเป็นเพราะ เด็กมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่วตามวัย  จึงได้หาวิธีการพัฒนาเด็กที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่ว  ด้วยท่ากายเล่นที่คิดขึ้น  10 ท่าเมื่อปีการศึกษา 2550-2551   ร่วมกับกะลาทรงตัว และอุปกรณ์เครื่องเล่นอีก 2 อย่าง ได้แก่ กระดานโยกเยก   กังหันใบตาล   เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า     ( สิริยาภรณ์  ลาภสาร. 2551  : 14 )   ปีการศึกษา 2553  ได้ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน    ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย  มาตรฐานที่ 2  พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน  13  คน  เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว  ระดับ 1 จำนวน  3  คน  คิดเป็นร้อยละ 23     เดินต่อเท้าถอยหลังตามแนว   ระดับ  1 จำนวน  5 คน คิดเป็นร้อยละ  38   ยืนขาเดียวได้อย่างมั่นคงโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ  1  จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ  38  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว  ระดับ  1  จำนวน 4  คน คิดเป็นร้อยละ  30    วิ่งอย่างรวดเร็วและหยุดโดยไม่เสียการทรงตัว   ระดับ 1  จำนวน 6 คน  คิดเป็นร้อยละ  46   ซึ่งสาเหตุที่เด็กมีระดับความสามารถในการทรงตัวตามตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานดังกล่าว อาจเป็นเพราะ เด็กมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่วตามวัย และจากการศึกษาผลการใช้เครื่องพื้นบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นแก้ไขปัญหาในปีการศึกษา 2550-2552  การใช้เครื่องเล่นพื้นบ้านน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่วได้ จึงได้แก้ไขเด็กที่มีทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่ว ด้วยอุปกรณ์เครื่องเล่นพื้นบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นรวม 5ชนิด ได้แก่กะลาทรงตัว  กระดานโยกเยก  บันไดไม้ไผ่  กังหันใบตาล และกังหันไม้ไผ่ โดยให้ชื่อว่า ชุดเครื่องเล่นพื้นบ้านของสิริยาภรณ์ ขึ้น

 วัตถุประสงค์ของสร้างชุดเครื่องเล่นพื้นบ้านของสิริยาภรณ์
                        เพื่อใช้ประกอบการเล่นกล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ไม่คล่องแคล่ว
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1.       จัดแถวเด็กแนะนำวัตถุประสงค์ของการเล่น  สร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม กำหนดรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ
2.       อบอุ่นร่างกายบนพื้นเรียบ ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อประมาณ  5  นาที
3.       ทบทวนคำคล้องจองประกอบการเล่น
4.       ให้เด็กเล่นด้วยการเล่นประจำสัปดาห์  ด้วยชุดเครื่องเล่นพื้นบ้านของสิริยาภรณ์
โดยการดูและอย่างใกล้ชิดของครู
4.   ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ   สรุป   ชมเชยให้รางวัล  ทำความสะอาดร่างกาย



บทบาทของครู

                        1.   อธิบายข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง   พูดทบทวน
ถึงจุดประสงค์ของคำคล้องจองให้เด็กรับรู้เสมอ
                        2.   กระตุ้นให้เด็กร่วมกิจกรรมกลางแจ้งอย่างทั่วถึง
                        3.   ดูแลความปลอดภัยในการเล่น อุปกรณ์ชุดเครื่องเล่นพื้นบ้านของสิริยาภณ์ 
อย่างใกล้ชิด
                        4. ครูให้คำชมเชย ยกย่องเด็กที่มีความพยามยามและร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น
                        5.   ยอมรับและให้โอกาสเด็กที่ยังขาดความมั่นใจที่จะร่วมกิจกรรมกับเพื่อน เสริมแรงเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น